ใช้ฟังก์ชั่นพ่นยา ต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน 8 ลิตรขึ้นไปจริงไหม ?

340 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ใช้ฟังก์ชั่นพ่นยา ต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน 8 ลิตรขึ้นไปจริงไหม ?

ใช้ฟังก์ชั่นพ่นยา ต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน 8 ลิตรขึ้นไปจริงไหม?

         สวัสดีครับคุณผู้อ่านทุกท่าน วันนี้จะมาแตกประเด็นเรื่องการเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 8 ลิตรขึ้นไป เพื่อใช้พ่นยากันนะครับ


         บ่อยครั้งที่เวลาผมให้คำปรึกษากับผู้ที่หาเครื่องผลิตออกซิเจนไว้ใช้ที่บ้าน ผมมักจะถามกลับ เสมอเวลาลูกค้าต้องการซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 8 ลิตร ว่า “ทำไมคุณลูกค้าต้องใช้ 8 ลิตร” ครับ หลายๆครั้ง ลูกค้าส่วนใหญ่จะตอบกลับมาว่า “คุณหมอบอกว่าต้องพ่นยา จึงต้องใช้ เครื่องผลิตออกซิเจน 8 ลิตร ขึ้นไป”

 

         ประเด็นนี้เหมือนเข้าใจง่าย แต่ก็มีความสับสนอยู่บ้างในการทำความเข้าใจ เราจะมาขยายประเด็นกันนะครับ ด้วยข้อเท็จจริงๆต่างๆเหล่านี้

1)ถังออกซิเจน หรือระบบท่อไปป์ไลน์ที่โรงพยาบาล เป็นระบบเดียวที่ทำหน้าที่ ทั้งให้ออกซิเจนและพ่นยาผู้ป่วย ดังนั้นคุณหมอและพยาบาล จะใช้ออกซิเจนทั้งเวลาที่ให้ออกซิเจนผู้ป่วย และ เวลาที่ต้องการจะพ่นยาในกรณีพ่นยา

2)โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีระบบการให้ออกซิเจนด้วยท่อไปป์ไลน์ ไม่มีการใช้เครื่องผลิตออกซิเจนในการดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาล ดังนั้น คุณหมอและพยาบาลส่วนใหญ่อาจไม่เข้าใจการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจน

3)ระบบท่อไปป์ไลน์ หรือถังออกซิเจน มีแรงดันค่อนข้างสูง 50 psi เวลาปรับอัตราการไหลที่ 8 ลิตร แรงดันที่สูงระดับนี้จะไม่เป็นอุปสรรคในการใช้ร่วมกับชุดพ่นยา ในขณะที่เครื่องผลิตออกซิเจนส่วนใหญ่แรงดันไม่ถึง 10 psi ด้วยแรงดันที่ต่ำกว่านี้เอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องผลิตออกซิเจนที่ขนาด 8 ลิตร หรือ มากกว่านี้ หากนำไปพ่นยาด้วยฟังก์ชั่นการให้ออกซิเจน จะไม่สามารถพ่นยาได้ดี ลูกลอยจะปรับไม่ขึ้น ลมจะอ่อยๆ การที่ลูกลอยที่โฟลมิเตอร์ปรับไม่ขึ้นเพราะแรงดันไม่พอ ถูกแรงต้านจากชุดพ่นยา จึงพ่นไม่ออก

4)วัตถุประสงค์ของการพ่นยาคือ ต้องการให้ยาน้ำแปรสภาพเป็นไอระเหยเพื่อให้ยานี้ออกฤทธิ์ที่ระบบทางเดินหายใจโดยตรง การทำให้ยาน้ำกลายสภาพเป็นไอ สามารถใช้แรงอัดอากาศร่วมกับชุดพ่นยา ดังนั้นในโรงพยาบาลคุณหมอและพยาบาลใช้แรงอัดอากาศจากท่อส่งออกซิเจนในการพ่นยา ไม่ใช่เหตุผลว่าต้องใช้ออกซิเจนในการพ่นยาเป็นเหตุผลหลักแต่ต้องการแรงอัดอากาศจากท่อส่งออกซิเจน การได้ออกซิเจนรวมด้วยเป็นผลดีทางอ้อม ส่วนการใช้เครื่องผลิตออกซิเจนเพื่อพ่นยา จึงมีความจำเป็นต้องแยกฟังก์ชั่นอัดอากาศที่มีแรงดันสูงออกมาเพื่อการพ่นยาโดยตรง โดยที่ฟังก์ชั่นอัดอากาศนี้จะมีแรงดันสูง แต่ไม่ได้เป็นฟังก์ชั่นที่มีความเข้มข้น

ออกซิเจนสูง ด้วยแรงอัดนี้ใช้ร่วมกับชุดพ่นยาจึงทำให้ยาน้ำกลายเป็นไอได้ตามวัตถุประสงค์ของการพ่นยา

แต่บางครั้งผู้ป่วย หรือญาติผู้ป่วย ต้องการพ่นยาด้วยออกซิเจน ในกรณีนี้อาจพิจารณา 2 แบบ

         1)ใช้ถังออกซิเจนในการพ่นยาเนื่องจากราคาไม่สูง และสามารถใช้งานได้หลากหลาย ร่วมทั้งยังไว้สำรองกรณี้ใช้กรณีอื่นๆอีก

         2)พิจารณาเลือก เครื่องผลิตออกซิเจน ที่มีแรงดันสูง ประมาณ 20PSI จึงจะสามารถใช้ช่องปล่อยออกซิเจนพ่นยาได้

 

         ปัญหาที่พบคือ ซื้อ 10 ล้อไปวิ่งส่งนักเรียน กล่าวคือ บางท่านซื้อเครื่องผลิตออกซิเจน 8 ลิตรไปโดยหวังว่าจะพ่นยาที่ช่องออกซิเจน แต่ก็มาพบว่าพ่นยาด้วยช่องนี้ไม่ได้ และการใช้งานก็ใช้แต่สายแคนนูล่า ซึ่งปรับอัตราการไหลไม่เคยเกิน 5 ลิตร/นาที  (ทางการแพทย์ การใช้ Nasal Cannula จะไม่นิยมปรับเกิน 6 ลิตร/นาที)



*ดัดแปลงตารางมาจาก การบำบัดด้วยออกซิเจน รศ.นพ.ธนู หินทอง รศ.ดร.นพ.สุรพงษ์ หล่อสมฤดี ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 
         โดยที่โดยทั่วไปเครื่องผลิตออกซิเจน 8 ลิตร ก็กินไฟกว่า เสียงดังกว่า น้ำหนักมากกว่า ราคาสูงกว่า จะแตกต่างกันในส่วนอัตราการไหลที่มากกว่า รุ่น 5 ลิตร ซึ่งถ้ามองการใช้งานแบบนี้ รุ่น 5 ลิตร ดีกว่าในทุกด้าน ไม่ว่าเสียงการทำงานที่เบากว่า เครื่องเล็กกว่า พ่นยาได้เหมือนกัน ที่สำคัญราคาถูกกว่า


         การเลือกเครื่องผลิตออกซิเจน แนะนำเลือกให้เหมาะกับความจำเป็นของผู้ป่วย บางครั้งญาติผู้ป่วยมีความเข้าใจผิด ซื้อไปใช้แล้วไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการก็จะเสียความรู้สึก เสียเงินโดยใช่เหตุ ถ้าเจอผู้จำหน่ายที่ให้รายละเอียดครบถ้วนแล้วตัดสินใจโดยพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วนก็จะเป็นประโยชน์กับตัวผู้ซื้อเอง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้