ปริมาณออกซิเจนในอากาศ เแค่ถึงจะเรียกได้ว่าเพียงพอต่อร่างกาย

286 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปริมาณออกซิเจนในอากาศ เแค่ถึงจะเรียกได้ว่าเพียงพอต่อร่างกาย

ปริมาณออกซิเจนในอากาศ เแค่ถึงจะเรียกได้ว่าเพียงพอ

เครื่องผลิตออกซิเจน สามารถช่วยให้ร่างกายรับออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการ

ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อระดับออกซิเจนภายในเลือด และภาวะพร่องออกซิเจนคืออะไร?

อากาศโดยปกติที่เราหายใจเข้าไปนั้น จะประกอบด้วยออกซิเจนประมาณ 21% และไนโตรเจนประมาณ 79% ซึ่งเป็นสภาวะเหมาะสมที่คนเราสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ถ้าออกซิเจนในอากาศลดลงเหลือ 15-17% ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงก็คือภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ซึ่งนายแพทย์สุระ เจตน์วาที แพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ชีพชั้นสูง และการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ให้ข้อมูลว่า “ถ้าปริมาณออกซิเจนภายในอากาศอยู่ในช่วง 12-15% ถือว่ามีความเสี่ยงต่อร่างกายมนุษย์ และถ้าลดลงเหลือ 12% ถือว่าอันตราย เมื่อที่ต่ำถึง 8% สามารถเสียชีวิตได้ภายใน 8 นาที”

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) คืออะไร และสาเหตุเกิดจากอะไร

         ภาวะพร่องออกซิเจนมีอยู่หลายชนิด แต่กับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนปี2018 ก็คือเหตุการณ์ที่ทีมหมูป่า ติดอยู่ในถ้าหลวงนั่นก็คือภาวะพร่องออกซิเจน แบบ Hypoxic Hypoxia ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่งผลให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง สาเหตุมักเกิดจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง เช่น บนยอดเขา การขึ้นบินบนเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งความกดบรรยากาศลดลง มีออกซิเจนเบาบาง ดังนั้นเมื่อหายใจเข้าไปในแต่ละครั้งจะได้รับออกซิเจนน้อยกว่าเมื่ออยู่ที่ระดับพื้นดิน นอกจากนั้น ภาวะพร่องออกซิเจน ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การที่ร่างกายได้รับยาที่มีฤทธิ์ทาให้หายใจช้าลง หรือได้รับสารพิษที่ทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดความบกพร่อง ในการจับออกซิเจน เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์, ยาเสพติด, สารไซยาไนด์ ร่างกายได้รับสารพิษบางอย่าง เช่น ควันพิษ, แอลกอฮอล์, ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ,สารไซยาไนด์ที่ทำให้ไม่สามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้ อาการป่วยด้วยโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมทั้งภาวะซีดและโรคโลหิตจาง ที่เป็นเหตุให้จำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตลดลงหรือภาวะหัวใจล้มเหลว ที่ทำให้ปริมาณแรงดันเลือดจากหัวใจลดลง



ภาวะพร่องออกซิเจน อาการเป็นอย่างไร

     รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ

     หัวใจเต้นเร็วขึ้น

     การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม

     วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว

     คลื่นไส้ อาเจียน

     ผิวหนังซีด หรือเขียวคล้ำ

     รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย

     รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มีเหงื่อออกมาก

     การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน

     มือเท้าชา

     ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง

     เพ้อ หมดสติ ชัก


ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน

ในแต่ละคนอาจเกิดอาการพร่องออกซิเจนได้แตกต่างกัน ระยะเวลาที่เริ่มเป็นและความรุนแรงก็ต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น

ระดับความสูงในบริเวณที่อยู่ ยิ่งอยู่ในพื้นที่สูงมาก ความกดบรรยากาศและความหนาแน่นของอากาศ จะยิ่งลดลงตามระดับความสูง

ระยะเวลาที่อยู่ในระดับความสูงนั้น หากอยู่นานก็มีโอกาสป่วยได้ง่ายกว่า

ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย หากเป็นเด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจาตัว ก็อาจเกิดอาการได้เร็วและรุนแรงกว่านักกีฬา หรือคนที่แข็งแรง

ภาวะทางจิตใจ ความวิตกกังวลจะทำให้เราหายใจสั้นและถี่ขึ้น ทำให้สมองได้ออกซิเจนน้อยลง

อย่างไรก็ตาม ออกซิเจนอาจค่อย ๆ ลดลงโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นถ้าสังเกตตัวเองว่าเริ่มรู้สึกหายใจลำบากหรือมึนงง ก็เป็นสัญญาณเตือนได้ว่าเราควรรีบออกมาจากบริเวณนั้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนที่รุนแรงได้


เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของภาวะเลือดพร่องออกซิเจน

สามารถแบ่งความรุนแรงของผู้ป่วยได้ 3 ระดับคือ

Mild Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 60-80 มิลลิเมตรปรอท

Moderate Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 40-60 มิลลิเมตรปรอท-

Severe Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท

ทั้งนี้ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี จะมีระดับออกซิเจนในเลือดแดงลดต่ำลง 1 มิลลิเมตรปรอท ต่ออายุที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ปี



ภาวะพร่องออกซิเจน รักษาได้อย่างไร (เพิ่ม internal link และ รูปหน้ากาก สายให้ออกซิเจน)

เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากากออกซิเจนหรือสายให้ออกซิเจนทางจมูก เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลาย ทั้งนี้จะต้องให้ออกซิเจนในระดับต่ำที่สุดที่จะเพียงพอเพื่อที่จะรักษาระดับออกซิเจนในเลือด เพราะถ้าหากให้ออกซิเจนเกินความต้องการ จะเกิดภาวะพิษจากออกซิเจนได้เช่นกัน



กลุ่มอาการหายใจมากเกินไป (infomental)

         การหายใจมากเกินไปเกิดจากอะไร? ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดอาการดังกล่าวเมื่อเครียดเพราะเมื่อเกิดความเครียด ความกังวลหรือความกลัวขึ้นมา ร่างกายจะตอบสนองโดยการหายใจเร็วและหรือหายใจลึก เมื่อหายใจมากถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดอาการขึ้นในครั้งแรกๆต้องมีความเครียดมากพอสมควรจึงจะเกิดอาการต่างๆได้แต่เมื่อเป็น หลายๆครั้งอาการต่างๆ จะเกิดง่ายขึ้นเรื่อยๆจนบางครั้งเพียงแค่ถอนหายใจก็เริ่มเกิดอาการได้แล้วทั้งที่ไม่ได้เครียด หายใจมากๆ มีผลเสียด้วยหรือ ? การหายใจมากเกินตามความจำเป็น ไม่ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพิ่ม เพราะในคนปกติขณะพักและหายใจในอากาศธรรมดาจะมีปริมาณออกซิเจนในเลือดเกือบเต็ม คือ ประมาณ 97-98% ของที่ฮีโมโกลบินจะรับได้อยู่แล้วการหายใจมากเกินไปจะมีผลต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะมีการระบายคาร์บอนไดออกไซด์ทิ้ง ทาให้คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดเหลือน้อยเกินไป คาร์บอนไดออกไซด์เป็น "ก๊าซเสีย" ก็จริง แต่ร่างกายต้องเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ส่วนหนึ่งเพื่อควบคุมความเป็นกรด-ด่างในเลือด เพราะเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ละลายน้ำจะเกิดกรดอ่อนๆที่ เรียกว่า "กรดคาร์บอนิค" ดังนั้นเมื่อ มีการหายใจมากเกินไป ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายจะเหลือน้อยเกินไป ทำให้ความเป็นกรดของเลือดไม่พอจึงเกิดอาการต่างๆ ขึ้นได้แก่

     1)รู้สึกแน่นๆ หน้าอกเหมือนหายใจไม่เต็มอิ่ม

     2)ใจสั่น

     3)มึนศรีษะ

     4)มือเท้าชา

     5)ถ้าเป็นมากๆ จะมีอาการมือเท้าเกร็งด้วย

         เมื่อเกิดอาการดังกล่าวโดยเฉพาะอาการหายใจไม่เต็มอิ่มผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายและจะพยายามหายใจให้มากกว่าเดิมอาการต่างๆก็จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ อาการต่างๆที่เกิดขึ้นทำให้รู้สึกไม่สบายแต่ไม่มีอันตรายเพราะเมื่อเป็นมากๆและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เหลือน้อยเกินไปเส้นเลือดในสมองจะหดตัวทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองน้อยลง ผู้ป่วยจะง่วงและหลับไปเมื่อหลับไปผู้ป่วยจะหายใจช้าลงเพราะปริมาณออกซิเจนในร่างกายมีมากมายและปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์เหลือนิดเดียวจึงไม่มีสิ่งกระตุ้นให้หายใจมากเมื่อเวลาผ่านไปปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะค่อยๆ ถูกสะสมมากขึ้นๆ เส้นเลือดในสมองก็จะค่อยๆ ขยายตัว ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้นผู้ป่วยก็จะค่อยๆ ตื่นขึ้นมาเอง เป็นแล้วจะทำอย่างไร ? ผู้ป่วยเองสามารถทำให้อาการเหล่านี้หายเองได้โดยควบคุมการหายใจให้น้อยลงซึ่งมีหลายวิธีได้แก่

     การใช้ถุง กระดาษ ใบใหญ่ๆครอบปากและครอบจมูกเวลาหายใจเพื่อให้หายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนไป

     การกลั้นหายใจ นับ 1 ถึง 4 แล้วจึงหายใจออก ทำซ้ำๆไปเรื่อยๆ

     การควบคุมลมหายใจด้วยการฝึกสมาธิ

         สองวิธีนี้หลังเป็นการควบคุมการหายใจไม่ให้หายใจมากเกินไป วิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาจะทำให้ร่างกายค่อยๆ สะสมคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นมาทำให้อาการต่างๆ ค่อยๆ หายไป ในบางครั้งถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองให้หายใจน้อยๆได้ แพทย์อาจให้ยาคลายกังวลเพื่อให้จิตใจสงบลงและหายใจช้าลงเองได้ ยาที่ใช้อาจเป็นยากินหรือยาฉีดก็ได้แต่ยากินจะสะดวกกว่าเพราะผู้ป่วยสามารถกินเองที่บ้านได้และไม่ต้องมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น กลุ่มอาการนี้เป็นความไม่สบายที่เกิดจากการหายใจมากเกินไปโดยอาจจะเกิดจากการหายใจตื้นๆถี่ๆ หรือหายใจไม่ถี่มากแต่ลึกหรือทั้งหายใจถี่และลึก ซึ่งอาการเหล่านี้ทำให้รู้สึกไม่สบายเท่านั้น แต่ไม่มีอันตราย อีกหนึ่งตัวช่วย คือ เครื่องผลิตออกซิเจน ที่สามารถช่วยในการผลิตออกซิเจนให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน สำหรับผู้ที่กำลังมองหา เครื่องผลิตออกซิเจน เรียลเมดคอร์ป เราให้บริการจัดจำหน่ายเครื่องผลิตออกซิเจน พร้อมมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำและคำปรึกษา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้