449 จำนวนผู้เข้าชม |
การดูดเสมหะ หมายถึง การใช้สายยางดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางปาก จมูก หรืออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในหลอดลมเพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ
กลุ่มของผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้
คือ ผู้ที่มีเสมหะเหนียวข้นหรือการทำงานของปอดลดลง ส่งผลให้กลไกการไอไม่เป็นปกติ หรือไม่สามารถไอขับเสมหะออกมาจากการไอได้นั้นเอง
ข้อดีของการดูดเสมหะ
ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น ลดโอกาสเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการอุดกั้นของเสมหะ
***ภาวะการพร่องออกซิเจนคืออะไร สามารถอ่านได้จากบทความนี้ https://shorturl.asia/6vj7Z***
ข้อสังเกตุอาการ จะทำการดูดเสมหะเมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้
หายใจเสียงดัง
กระสับกระส่าย
อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น
เริ่มมีอาการเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน
การดูดเสมหะทางจมูกและทางปาก
-การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางจมูก (nasopharyngeal tube หรือ nasal airway) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาว ภายในกลวง ลักษณะของท่อโค้งและมีความยืดหยุ่นให้สามารถสอดใส่เข้าทางรูจมูกผ่านไปถึงโพรงจมูกด้านหลัง (nasopharynx) ได้สะดวก การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางจมูกมักใช้ในกรณีผู้ป่วยขบกัดท่อหายใจทางปาก (oropharyngeal tube) บ่อยๆ
-การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางปาก (oropharyngeal tube) ซึ่งเป็นท่อที่สอดใส่เข้าทางปากผ่านช่องปากไปถึงโคนลิ้น
การดูดเสมหะทางท่อหายใจและท่อเจาะคอ
ช่วยให้สามารถดูดเสมหะที่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนล่างออกมาได้ง่าย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถไอขับเสมหะออกได้ การใส่อุปกรณ์เข้าทางท่อเจาะคอ (endotracheal tube) เข้าทางปาก (orotracheal) หรือทางจมูก (nasotracheal) โดยผ่านฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) และสายเสียง (vocal cord) เข้าสู่หลอดลม (trachea) อย่างไรก็ตามการใส่ endotracheal tube สามารถใส่ไว้ได้นานไม่เกิน 3-4 สัปดาห์ จึงเปลี่ยนเป็นท่อหลอดลมคอ (tracheostomy tube) ซึ่งเป็นการใส่เข้าสู่หลอดลมโดยตรง
ข้อที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการดูดเสมหะ
1)มีเสมหะ ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจ
2)ขาดออกซิเจน หัวใจเต้นช้า ปอดแฟบ
3)ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
4)มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ
5)เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ
6)มีรอยแผลหรือรอยแดงของผิวหนังรอบๆ หลอดหรือท่อที่ใส่ภายในหลอดลมคอ
7)กระทบกระเทือนหลอดลม เช่น มีเนื้อตายหรือทะลุ
8)มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง
9)อาเจียน สำลัก
ข้อควรระวังในการดูดเสมหะ
1)การระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ ขณะใส่สายดูดเสมหะให้เปิดด้านหนึ่งของตัวต่อเพื่อป้องกันการดูดอากาศออกมากเกินไป และเมื่อสายดูดเสมหะเข้าไปถึงที่ต้องการ จึงปิดรู เพื่อให้เกิดแรงดูด ขณะดูดเสมหะให้หมุนสายยางไปรอบๆ และค่อยๆ ดึงสายดูดเสมหะขึ้นมา
2)ถ้าเสมหะเหนียวมาก ให้หยดน้ำเกลือ (normal saline solution) ประมาณ 3-5 มิลลิลิตรลงไปในท่อหลอดลม ช่วยละลายเสมหะให้อ่อนตัวลง ทำให้ดูดเสมหะออกได้ง่าย
3)ภาวะขาดออกซิเจน ควรให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนก่อนดูดเสมหะทุกครั้งประมาณ 30 วินาทีถึง 2 นาที หรือบีบถุงลมช่วยหายใจ (Ambu bag) ต่อออกซิเจน 3-6 ครั้ง และให้ออกซิเจนหลังดูดเสมหะอีกครั้งนานประมาณ 1-5 นาที หรือบีบ Ambu bag เพื่อช่วยขยายปอด ป้องกันภาวะปอดแฟบ
4)ภาวะปอดแฟบ (lung atelectasis) จากการดูดซ้ำหลายๆ ครั้ง ดังนั้นควรดูดเมื่อมีเสมหะหรือเมื่อจำเป็น การดูดแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 5-10 วินาที และห่างกันประมาณ 3 นาที
ซึ่งทาง Realmedcorp จะมาแนะนำเครื่องดูดเสมหะทั้ง 3 รุ่นดังนี้
รุ่นแรก เครื่องดูดเสมหะแบบพกพา Yuwell รุ่น 7E-A เหมาะสำหรับผู้ป่วยเสมหะ(ไม่เหนียวข้น) จะมีแรงดูดที่ 17 ลิตร/นาที
ตรวจสอบสเปคเครื่องดูดเสมหะ Yuwell รุ่น 7E-A เพิ่มเติมคลิก : https://shorturl.asia/rBX3L
รุ่นที่สอง เครื่องดูดเสมหะแบบตั้งภายในบ้าน Yuwell รุ่น 7A-23D เหมาะสำหรับผู้ป่วยเสมหะ(เหนียวข้น) จะมีแรงดูดที่ 20 ลิตร/นาที
ตรวจสอบสเปคเครื่องดูดเสมหะ Yuwell รุ่น 7A-23D เพิ่มเติมคลิก : https://shorturl.asia/czaMv
รุ่นสาม เครื่องดูดเสมหะแบบพกพาจากอเมริกา Devilbiss รุ่น 7305D-I เหมาะสำหรับผู้ป่วยเสมหะ(เหนียวข้น) จะมีแรงดูดที่ 27 ลิตร/นาที
ตรวจสอบสเปคเครื่องดูดเสมหะ Yuwell Devilbiss รุ่น 7305D-I เพิ่มเติมคลิก : https://shorturl.asia/e2vh9
RealmedCorp
• สอบถามเพิ่มเติมได้ที่